ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ

27/02/2024

ปอด ในทางทฤษฎีการแพทย์แผนจีน เป็นอวัยวะที่ควบคุมพลังชี่ และการไหลเวียนลมปรานชี่ และของเหลวในร่างกาย โดยปกติปอดจะไม่ชอบความชื้น  เมื่อร่างกายรับเชื้อโควิดลงสู่ปอด ปอดติดเชื้อก่อให้เกิดการอักเสบ เกิดเสมหะอุดกั้น ทำให้การกระจายชี่ของปอดไม่สมบูรณ์ เกิดอาการหอบเหนื่อย หายใจติดขัด และการที่ชี่จากปอดไหลย้อนกลับ จะก่อให้เกิดอาการไอ เมื่อยังมีการอักเสบอยู่ การทำงานของปอดจึงยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ จึงทำให้เกิดการไอเรื้อรังได้

อาการ Post Covid Syndrome หรือ Long Covid คืออาการที่ผิดปกติของร่างกายในขณะที่ติดเชื้อโควิด แม้จะครบ 1 เดือน หายดีกลับบ้านได้แล้ว แต่อาจยังหลงเหลืออาการอยู่ หากพบว่ามีอาการผิดปกตินานกว่า 2 เดือน เช่น  ไอ หายใจติดขัด เหนื่อยหอบ เจ็บแน่นหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งอาจเกิดจากภาวะ Long Covid   เกิดจากการติดเชื้อโรคอื่น หรือโรคที่เกิดขึ้นใหม่ก็เป็นได้

อาการที่อาจหลงเหลืออยู่ โดยมากที่พบเกือบ 50% เกิดจากการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ  ได้แก่อาการ * ไอ   * เหนื่อยง่าย   * เพลีย   * ครั่นเนื้อครั่นตัว ทั้งนี้ผู้ป่วยสูงอายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป จะมีอาการเหล่านี้ได้มากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและกลุ่มผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วโดยได้รับยาสเตียรอยด์

ผู้ป่วยที่ยังมีภาวะ Long Covid สามารถดูแลร่างกายในด้านต่าง ๆ เช่น การนอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ  การออกกำลังกายเบาๆอย่างสม่ำเสมอ การรำไท่เก็ก การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารจากธรรมชาติ รสชาติอ่อน และอาหารที่ไม่ปรุงแต่งมากนัก การผ่อนคลายจิตใจ โดยใช้ศาสนา ศิลปะ ดนตรี ฯลฯ และยังสามารถใช้ศาสตร์การฝังเข็มทางการแพทย์แผนจีน เพื่อช่วยบำบัดอาการ และบำรุงร่างกายโดยองค์รวมได้อีกด้วย

พจ.มาลีนา บุนนาค ลู่

ภูมิแพ้แมลงสาบ

แมลงสาบ สารก่อภูมิแพ้จากแมลงสาบ เกิดได้จากเปลือกแข็งหุ้มตัว ขา น้ำลายและอุจจาระ ซึ่งถือเป็นสารก่อภูมิแพ้ ที่สำคัญของการเกิดอาการโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืดและโรคเยื่อบุ จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นต้

เวียนหมุนจากโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน

Benign Paroxysmal Positional Vertigo – BPPV เป็นสาเหตุของอาการเวียนศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะจากโรคหู ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนแบบเฉียบพลัน สัมพันธ์กับท่าทางหรือการขยับศีรษะ พบได้ทุกช่วงอายุ โดยพบมากขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ

นิทรรศการภาพถ่าย: เข้าข้างวิทยาศาสตร์เพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพ

แนวทางการดูแลการทำแท้งของ WHO ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย ซึ่งผู้คนมีส่วนร่วมในด้านสุขภาพและการดูแลของตน ในขณะที่ผู้คนก้าวผ่านเส้นทางการดูแลการทำแท้ง (ก่อนทำแท้ง การทำแท้ง หลังการทำแท้ง) บริการด้านสุขภาพจะต้องบูรณาการภายในภาคส่วนด้านสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่าการให้บริการจะตรงตามความต้องการของผู้หญิงและเด็กผู้หญิง - อย่างเท่าเทียมกันและปราศจากการเลือกปฏิบัติ