คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สถานการณ์โควิด 19 สร้างผลกระทบต่อชีวิต ทุกคน อาจมากน้อยตามแต่วัย อาชีพการทำงาน ถิ่นที่อยู่ และวิถีชีวิตไลฟ์สไตล์ เราเห็นรูปแบบมากมายของการปรับตัว เปลี่ยนแปลง เพื่ออยู่รอดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

Story from the field เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิตในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ผ่านมุมมองของแต่ละบุคคล (เช่น มุมมองของพ่อแม่ ลูก ครู นักเรียน บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบการธุรกิจ ฯลฯ) หรือเรื่องราวระดับองค์กรที่เราทำงาน ไม่ว่าจะเป็นมุมเรื่องดีหรือเรื่องร้าย และวิธีรับมือแก้ปัญหาที่ทำให้ผ่านพ้นมาได้

เราประชาสัมพันธ์เพื่อเปิดรับผู้สนใจมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านช่องทางทั้งออนไลน์และออฟไลน์ มีผู้สนใจให้ข้อมูลเบื้องต้นทางเว็บไซต์ phe.thai.org มากถึงเกือบ 200 เรื่องราว มีการกระจายเพศ กลุ่มอายุ อาชีพ และพื้นที่อยู่อาศัยทั่วประเทศไทย จากนั้น ทีมวิจัยได้ประสานเพื่อสัมภาษณ์เพิ่มเติมและขอความยินยอมในการเผยแพร่ในวงกว้างทั้งในรูปแบบบทความและวิดีโอ 

เราพบเรื่องราวทั้งสะเทือนใจและประทับใจ หลายท่านได้มีโอกาสช่วยเหลือผู้อื่นในยามวิกฤติ ประสานการทำงาน เห็นจิตอาสาและน้ำใจของการแบ่งปันช่วยเหลือ แต่ต้องยอมรับว่าอีกมากมายที่ต้องประสบกับความยากลำบากทั้งการดำเนินชีวิตประจำวัน การสร้างสังคมและเพื่อนของนักเรียน ความยากลำบากทางเศรษฐกิจ การต้องปรับการทำงานครั้งใหญ่ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งผู้ที่มีบทบาทโดยตรงและบทบาทสนับสนุนให้ฝ่าฝันสถานการณ์ไปด้วย การรับบริการด้านสาธารณสุขระดับบุคคล หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการรวบรวมและนำเสนอ Story from the field นี้จะทำหน้าบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในมุมมองระดับบุคคลและองค์กร สร้างแรงบันดาลใจ คงไว้ซึ่งคุณค่าของสังคมน้ำใจ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน และนำข้อผิดพลาดมาเตรียมการ เพิ่มศักยภาพ ปรับปรุง และพัฒนาวิธีรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินในครั้งต่อ ๆ ไป

ดูเคสตัวอย่างทั้งหมด

Highlighted Cases

เฉลิมฉลองอดีตเจ้าหน้าที่ในวันเกิดปีที่ 75 ของ WHO

ดร. บาร์นส์เกิดในปี 1919 สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ในตำแหน่งแพทย์ในปี 1944 เขาถูกเกณฑ์เข้ากองทัพอังกฤษทันทีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาแต่งงานระหว่างรอโพสต์ แต่หลังจากฮันนีมูนสามวัน เขาก็ได้รับคำสั่งให้เริ่มดำเนินการ

การเดินทางของ Sarah

Sarah Ikarot Papa วัย 46 ปี ใจกลางเทศมณฑล Busia ยืนเป็นสัญลักษณ์ของความหวังสำหรับผู้หญิงที่จะเอาชนะความท้าทายในการทำไร่ยาสูบ ซาราห์เป็นหนึ่งในเกษตรกรมากกว่า 2,500 รายในสี่มณฑลของเคนยาที่เปลี่ยนจากการปลูกยาสูบไปเป็นถั่วที่มีธาตุเหล็กสูงผ่านโครงการริเริ่มฟาร์มปลอดยาสูบ

เยาวชนแกนนำเพื่อสุขภาพ!

WHO ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมอันล้ำค่าที่คนหนุ่มสาวกำลังทำเพื่อพัฒนาความคิดริเริ่มด้านสุขภาพ ส่งเสริมนวัตกรรม และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในชุมชนของพวกเขา ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก WHO ให้เยาวชนมีส่วนร่วมในฐานะหุ้นส่วนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำงาน ในปีนี้ WHO ได้ริเริ่มโครงการริเริ่มที่นำโดยเยาวชนหลายโครงการ เช่น WHO Youth Council, Global Model WHO และ Youth Delegate Program

ขจัดโรคพิษสุนัขบ้า

“การประชุมครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่าเหตุใดแนวทาง One Health จึงมีความสำคัญมากเมื่อต้องรับมือกับภัยคุกคาม เช่น โรคพิษสุนัขบ้า ผู้เข้าร่วมได้วางแผนไว้ว่าสิ่งแรกๆ ที่ต้องติดตามคือการปรับปรุงกลไกและกฎหมายสำหรับความร่วมมือข้ามภาคส่วนระหว่างภาคส่วนมนุษย์ สุขภาพสัตว์ และสัตว์ป่า”