Global health security capacity
Tools and measurement

เราทราบได้อย่างไรว่าขีดความสามารถด้านความมั่นคงด้านสุขภาพของประเทศหรือพื้นที่เป็นอย่างไร

ในระดับนานาชาติได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำเครื่องมือเพื่อประเมินขีดความสามารถด้านสาธารณสุขฉุกเฉิน โดยริเริ่มการดำเนินงานภายใต้กฎอนามัยระหว่างประเทศ ค.ศ. 2005 (IHR 2005) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปีค.ศ. 2007 ทั้งนี้รัฐสมาชิกได้ให้คำมั่นว่าจะพัฒนาขีดความสามารถด้านสาธารณสุขฉุกเฉินให้ถึงระดับมาตรฐาน ภายในปีค.ศ. 2012 โดยในระยะเริ่มต้นองค์การอนามัยโลกให้รัฐสมาชิกทำแบบประเมินตนเอง (self assessment tool) และพบว่ารัฐสมาชิกจำนวนหนึ่งขอผัดผ่อนที่จะดำเนินการและ ผลการประเมินตนเองไม่ตรงกับสถานะขีดความสามารถจริง ในปี ค.ศ. 2015 สมัชชาอนามัยโลกสมัยที่ 68 มีข้อมติที่จะพัฒนาการดำเนินการตาม IHR 2005 โดยมีข้อเสนอหนึ่งคือ ขอให้องค์การอนามัยโลกพัฒนาการประเมินขีดความสามารถด้านสาธารณสุข โดยการใช้แนวทางผสมผสานทั้งการประเมินตนเอง (Self evaluation) พิชญพิจารณ์ (Peer review) และการประเมินจากภายนอกด้วยความสมัครใจ (Voluntary External evaluation) โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งพิจารณายุทธศาสตร์ในการดำเนินงานควบคู่ไปด้วย เช่น การเชื่อมโยงและการขอคำมั่นจากฝ่ายการเมืองระดับสูง รวมถึงการเชื่อมโยงกับภาคส่วนต่างๆ และควรจะมีส่วนร่วมจากสำนักงานองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคต่างๆ

ในปีค.ศ. 2018 องค์การอนามัยโลกจึงได้มีการพัฒนากรอบการประเมินการดำเนินงานตาม IHR ตามข้อมติของสมัชชาอนามัยโลก WHA68/22 Add.1 คือ The IHR Monitoring and Evaluation Framework (IHRMEF) ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญได้แก่ การรายงานหลักที่ต้องดำเนินการทุกปี (State Parties Annual Reporting) และ การประเมินด้วยความสมัครใจ (after action review, simulation exercise and voluntary external evaluation) ทั้งนี้ IHRMEF มีหลักการสำคัญคือ การร่วมรับผิดชอบและความโปร่งใส ประเทศร่วมเป็นเจ้าของ/ภาวะผู้นำขององค์การอนามัยโลก/การมีหุ้นส่วนที่ร่วมทำงานเชิงรุก การทำงานระหว่างภาคส่วน รวมถึงการประเมินที่เชื่อมโยงสู่การวางแผนและนำไปปฏิบัติ สำหรับ voluntary external evaluation ได้มีการพัฒนา Joint External Evaluation โดยนำ The Global Health Security Agenda Country Assessment Tool มาปรับและใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นเครื่องมือเดียว

ในระยะเวลาเดียวกัน คือ ในปีค.ศ. 2014-2015 ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศกลุ่มมีรายได้สูงได้มีการจัดตั้ง GHSA (Global Health Security Agenda) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ป้องกัน ตรวจจับ และตอบสนองต่อโรคระบาดร้ายแรงที่จะสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วและเพื่อกระตุ้นประเทศต่างๆ ให้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม IHR 2005 และได้มีการจัดทำกรอบการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตาม GHSA รวมถึงการจัดทำเครื่องมือประเมินขีดความสามารถของประเทศ (The Global Health Security Agenda Country Assessment Tool) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เป็นไปด้วยความสมัครใจและมีส่วนร่วมจากประเทศที่เป็นสมาชิก GHSA และ Global Health Security Index ที่มีกระบวนการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญโดยใช้ข้อมูลสาธารณะใน 195 รัฐสมาชิกภายใต้ IHR 2005

โดยสรุป ในปัจจุบัน มีเครื่องมือประเมินขีดความสามารถด้านสาธารณสุขฉุกเฉินในระดับสากล 2 เครื่องมือหลัก คือ Joint External Evaluation (ซึ่งได้มีการบูรณาการกับ The Global Health Security Agenda Country Assessment Tool) และ The Global Health Security Index ที่มีการประเมินiรัฐสมาชิกภายใต้ IHR 2005 จำนวน 195 รัฐสมาชิกทั่วโลกมา 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 2019 และ 2021 นอกจากเครื่องมือนี้แล้ว ยังมีเครื่องมืออื่นๆ ที่พัฒนามาใช้ประเมินเพื่อเพิ่มเติมในประเด็นเฉพาะด้านที่สำคัญและพัฒนาช่องว่างได้เช่น UHPR (Universal Health and Preparedness Review), Intra-Action Review (IAR), After Action Review, simulation exercise

ในส่วนนี้จะขอเล่าถึง JEE, The GHS Country Assessment Tool และ Global Health Security Index เป็นหลักค่ะ ในภาพรวม JEE และ The GHS Country Assessment Tool มีหลักการในการทำงานและกระบวนการคล้ายคลึงกันมาก รวมถึงวิธีการวัด แต่มีความแตกต่างตรงที่ The GHS Country Assessment tool จะเน้นภัยสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อเป็นหลัก ในขณะที่ JEE เป็น all hazards อย่างไรก็ตาม JEE ฉบับที่ 3 (ล่าสุด) ได้พัฒนาและต่อยอดการเรียนรู้จาก The GHS Country Assessment Tool เป็นข้อมูลนำเข้าสำคัญ

เครื่องมือประเมินขีดความสามารถด้านสาธารณสุขฉุกเฉินในระดับสากล

The Joint 
External 
Evaluation 
(JEE)

เป็นเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเพื่อประเมินขีดความสามารถของประเทศในการป้องกัน ตรวจจับ และการตอบสนอง ต่อภัยคุกคามทางสุขภาพ ซึ่งเครื่องมือนี้ จะเป็นการประเมิน จากภายนอก เพื่อวัดสถานะของประเทศ (Country-specific status) และความก้าวหน้าในการบรรลุ เป้าหมาย (targets)

GHSA
Country 
Assessment 
Tool

GHSA Country Assessment tool จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวัดสถานะของประเทศ (Country Specific Status) และความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายตาม GHSA ทั้งนี้ กระบวนการในการประเมินจะเน้นเรื่องของความยั่งยืนและความยืดหยุ่น

Global
Health
Security
(GHS) index

The Global Health Security (GHS) Index เป็นการประเมิน แบบรอบด้านเป็นครั้งแรกที่จัดทำขึ้นเพื่อวัดระดับขีดความสามารถด้านความมั่นคงทางสุขภาพของ 195 รัฐสมาชิกภายใต้ IHR 2005 โดยเริ่มดำเนินการในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2019

เปรียบเทียบ JEE และ GHS Index
หัวข้อJEEGHS Index
ผู้พัฒนาองค์การอนามัยโลกNTI และ John Hopkins University
วัตถุประสงค์เพื่อประเมินขีดความสามารถของรัฐสมาชิกภายใต้ IHR 2005 ตาม IHR core capacities ใน 19 สาขา (technical areas)เพื่อประเมินขีดความสามารถของรัฐสมาชิกภายใต้ IHR 2005 ใน 11 สาขา (Action packages)
ขอบเขตAll hazard approach
  • เน้นโรคระบาด รวมถึงการก่อการร้ายทางชีวภาพ
  • ครอบคลุมตัวชี้วัดต่อระบบสุขภาพ และปัจจัยภายนอกภาค

สุขภาพ เช่น การวิจัย การขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ การสื่อสาร คำมั่นในการพัฒนาระบบความมั่นคงด้านสุขภาพใน ระดับสูง ความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ/สังคม ความไม่ สงบทางสังคม

วิธีการเป็นการประเมินร่วมกันระหว่างทีมภายนอกและทีมของประเทศ โดยเห็นชอบร่วมกันกับผลการประเมิน และการประเมินเป็นไป ตามความสมัครใจเป็นการประเมิน
รอบการประเมินคาดหวังไว้ทุก 5 ปีทุก 2 ปี

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ

อาการ Post Covid Syndrome หรือ Long Covid คืออาการที่ผิดปกติของร่างกายในขณะที่ติดเชื้อโควิด แม้จะครบ 1 เดือน หายดีกลับบ้านได้แล้ว แต่อาจยังหลงเหลืออาการอยู่ หากพบว่ามีอาการผิดปกตินานกว่า 2 เดือน

อนามัยโลกชี้ สารให้ความหวาน "แอสปาร์แตม" เป็น "สารก่อมะเร็ง"

Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book.

WHO เลือกไข้หวัดใหญ่พันธุ์ไทยปั๊ม วัคซีนป้องกัน

นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงสถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ว่า จากผลการวิเคราะห์ ลำดับพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จากทั่วโลก...