Global Health Security (GHS) Index

ดัชนีความมั่นคงทางสุขภาพ (Global Health Security Index: GHS) ประจำปี 2021 ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา ได้จัดอันดับให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางสุขภาพสูงที่สุดเป็นลำดับที่ 5 ของโลก จากการประเมินทั้งหมด 195 ประเทศ

Global Health Security Index จัดทำโดย ศูนย์ความมั่นคงทางสุขภาพประจำมหาวิทยาลัย Johns Hopkins สหรัฐอเมริกา องค์กร Nuclear Threat Initiative และศูนย์ Economist Impact ซึ่งทำการประเมินความมั่นคงทางสุขภาพและศักยภาพของทั้งหมด 195 ประเทศในการเตรียมพร้อมรับมือกับการเกิดโรคระบาด (epidemics) และการระบาดใหญ่ (pandemics) ผ่านทั้งหมด 37 ตัวชี้วัด ที่อยู่ใน 6 หมวดหมู่ของการมีความมั่นคงทางสุขภาพ ได้แก่

Prevention – การป้องกันการเกิดขึ้นหรือการรั่วไหลของเชื้อโรค
Detection and Reporting – การตรวจคัดกรองและการรายงานโรคระบาดที่อาจเป็นปัญหาระหว่างประเทศได้ตั้งแต่ระยะแรก
Rapid Response – การตอบสนองอย่างเร่งด่วนและการบรรเทาผลกระทบของการแพร่กระจายของโรคระบาด
Health System – ระบบสุขภาพที่ศักยภาพเพียงพอและเข้มแข็งในการรักษาผู้ป่วยและปกป้องบุคลากรทางการแพทย์
Compliance with International Norms – ความมุ่งมั่นในการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ มีแผนการจัดหาเงินทุนเพื่ออุดช่องว่าง และดำเนินงานตามบรรทัดฐานระดับโลก
Risk Environment – สภาพแวดล้อมความเสี่ยงโดยรวมและความเปราะบางของประเทศต่อภัยคุกคามทางชีวภาพ
ผลการวิเคราะห์ GHS Index ประจำปี 2021 พบว่า ทุกประเทศยังคงเตรียมพร้อมไม่เพียงพอสำหรับการเกิดโรคระบาดหรือการระบาดใหญ่ทั่วโลกที่จะส่งผลให้โลกมีความเสี่ยงอย่างมากต่อภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพในอนาคต โดยดูจากคะแนนเฉลี่ยของทุกประเทศที่อยู่ที่ 38.9 จากคะแนนเต็ม 100 และไม่มีประเทศใดเลยที่ทำคะแนนถึงในระดับสูงสุด หรือมากกว่า 80 คะแนน

สำหรับประเทศไทย ได้คะแนนรวมความมั่นคงทางสุขภาพที่ 68.2 คะแนน เป็นคะแนนสูงสุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก แม้ว่าจะได้อันดับที่สูงขึ้นจากปี 2019 ที่อยู่อันดับที่ 6 แต่คะแนนรวมลดลง 0.7 คะแนน โดยประเทศที่ได้คะแนน GHS Index สูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ 1. สหรัฐอเมริกา (75.9) 2. ออสเตรเลีย (71.1) 3. ฟินแลนด์ (70.9) 4. แคนาดา (69.8) 5. ไทย (68.2) 6. สโลวาเนีย (67.8) 7. สหราชอาณาจักร (67.2) 8. เยอรมนี (65.5) 9. เกาหลีใต้ (65.4) และ 10. สวีเดน (64.9)

อย่างไรก็ตาม ไทยก็ยังเป็นอันดับที่ 1 ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มประเทศที่มีประชากร 50-100 ล้านคน และกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง และไทยยังได้คะแนนในหมวดหมู่ ‘Detection and Reporting’ เป็นอันดับที่ 1 ของโลก (91.5 คะแนน) และในหมวดหมู่อื่น ๆ ไม่เกิน 12 อันดับแรก ยกเว้นหมวดหมู่ ‘Risk Environment’ ที่อยู่ที่อันดับ 88 ของโลก

ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช

สารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรจากหญ้า ต้นไม้ และวัชพืชสามารถก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืด โรคเยื่อจมูกและตาอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งละอองเกสรเหล่านี้จะมีอนุภาคขนาดเล็ก สามารถปลิวได้ใกลหลายกิโลเมตร ทำให้เกิดอาการในผู้ที่แพ้ได้ แม้ว่าจะไม่ได้ปลูกต้นไม้ หรือหญ้าไว้ในบ้านก็ตาม โดยชนิดและปริมาณของละอองเกสรจะแตกต่างกันตามฤดูกาลและภูมิประเทศ

วิธีการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

อาการคัดจมูกและมีน้ำมูกมาก จะพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้และเป็นโรคโพรงไซนัสอักเสบ อาการดังกล่าวสามารถที่จะรักษาได้ โดยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ น้ำเกลือที่ผ่านเข้าไปในจมูกจะชะล้างน้ำมูก หนอง และสารที่ไม่ต้องการออกจากโพรงจมูก ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้นและหายจากโรคได้เร็วขึ้น

เวียนหมุนจากโรคตะกอนหินปูนหูชั้นในเคลื่อน

Benign Paroxysmal Positional Vertigo – BPPV เป็นสาเหตุของอาการเวียนศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะจากโรคหู ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนแบบเฉียบพลัน สัมพันธ์กับท่าทางหรือการขยับศีรษะ พบได้ทุกช่วงอายุ โดยพบมากขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ