Vaccine Series

วัคซีนเป็นเครื่องมือสำคัญในการตอบสนองต่อการระบาดของโควิด 19 และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤต ประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับการเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 แก่ประชาชนที่ อาศัยบนผืนแผ่นดินไทย โดยเน้นยุทธศาสตร์สำคัญ 2 ด้าน คือ 1) การวิจัยและพัฒนาวัคซีนในประเทศ รวมถึงการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อผลิตวัคซีนในประเทศ 2) การจัดซื้อจัดหาวัคซีน ทั้งนี้เพื่อบรรล ุเป้าหมายสำคัญคือ เพื่อให้คนไทยมีโอกาสเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย ในเวลาใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ

เพื่อบรรลุยุทธศาสตร์การเข้าถึงวัคซีน ประเทศไทยโดยรัฐบาลและแหล่งทุนต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยเพื่อสร้างความรู้สำหรับนำวัคซีนมาใช้แก้ไขปัญหาโควิด 19 ซึ่งองค์กรต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัย ภาคประชาสังคม ภาคประชาชนและภาคเอกชน ได้มีบทบาทสำคัญในการร่วมดำเนินการในด้านต่างๆ ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาวัคซีนในประเทศ การผลิตวัคซีนโดยรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ การวางแผนการใช้วัคซีนการวิจัยสูตรการฉีด วิธีการฉีดและระยะห่างระหว่างเข็มที่เหมาะสม เพื่อให้คนไทยทุกคนได้เข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยและเกิดประสิทธิผลสูงสุด การวิจัยรูปแบบการ รณรงค์วัคซีนขนาดใหญ่นอกสถานบริการ เช่น ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ศูนย์ฉีดวัคซีนโคราช รวมถึง ศูนย์การฉีดวัคซีนต่าง ๆ ในหลายจังหวัด ซึ่งถือเป็นรูปแบบการรณรงค์ขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ประเทศไทยและประวัติศาสตร์โลก และเป็นการสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการร่วมรณรงค์ Vaccine series นี้ เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะรวบรวมงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินใจเชิงนโยบาย ณ ช่วงเวลาต่างๆ เพื่อให้ประชาชนไทยเข้าถึงวัคซีน ซึ่งผลวิจัยเหล่านี้ เกิดประโยชน์ต่อประชาชนหมู่มากและช่วยให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตมาได้โดยใช้ความรู้เป็นฐาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบันทึก เรื่องราว และเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการสร้างและจัดการความรู้อย่างเป็น ระบบที่นำมาใช้ประโยชน์ได้จริง

Vaccine Series มีสาระสำคัญจากงานวิจัยและนวัตกรรมที่น่าสนใจ 5 ด้าน ดังนี้

การพัฒนานโยบายการเข้าถึงวัคซีนของคนไทย

กรอบเวลาแสดงภาพรวมของการระบาดและการดำเนินงานสำคัญในระดับนานาชาติและในประเทศไทย ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 มีรายงานการระบาดในสาธารณรัฐประชาชนจีนและต่อมามีการประชุม IHR Emergency Committee ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2563 และองค์การอนามัยโลกประกาศว่าการระบาดของโควิด 19 เป็น Public Health Emergency of International Concerns (PHEIC) ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

COVID-19 vaccines

WHO แนะนำระบอบการปกครองแบบโดสเดียวที่เรียบง่ายสำหรับการสร้างภูมิคุ้มกันเบื้องต้นสำหรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ส่วนใหญ่ ซึ่งจะปรับปรุงการยอมรับและการดูดซึม และให้การป้องกันที่เพียงพอในเวลาที่คนส่วนใหญ่เคยติดเชื้อมาก่อนอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ข้อมูลที่มีอยู่แนะนำว่าวัคซีน Omicron XBB ชนิดโมโนวาเลนต์ให้การป้องกันที่ดีขึ้นเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับวัคซีนที่มีแวเลนต์ที่มีแวเลนต์และวัคซีนดัชนีไวรัสโมโนวาเลนต์

วัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกัน

การสร้างภูมิคุ้มกันเป็นเรื่องราวความสำเร็จด้านสุขภาพและการพัฒนาระดับโลก ซึ่งช่วยชีวิตผู้คนนับล้านทุกปี วัคซีนลดความเสี่ยงในการเกิดโรคโดยทำงานร่วมกับการป้องกันตามธรรมชาติของร่างกายเพื่อสร้างการป้องกัน เมื่อคุณได้รับวัคซีน ระบบภูมิคุ้มกันของคุณจะตอบสนอง

ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และการป้องกันของวัคซีน

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และช่วยชีวิตได้ เช่นเดียวกับวัคซีนอื่นๆ พวกเขาไม่ได้ปกป้องทุกคนที่ได้รับการฉีดวัคซีนได้อย่างเต็มที่ และเรายังไม่รู้ว่าสามารถป้องกันไม่ให้ผู้คนแพร่เชื้อไวรัสไปยังผู้อื่นได้ดีเพียงใด นอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว เรายังต้องดำเนินมาตรการอื่นๆ เพื่อต่อสู้กับโรคระบาดต่อไป

เรื่องราวความสำเร็จของวัคซีนทำให้เรามีความหวังสำหรับอนาคต

ในขณะที่โลกรอคอยวัคซีนเพื่อเอาชนะการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เราก็มองย้อนกลับไปที่วัคซีนทั้งหมดที่ได้ทำเพื่อมนุษยชาติ